ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมคิดอย่างไร

แก้ไขเมื่อ Fri, 01 Dec 2023 เมื่อ 02:58 PM

ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมบนแพลตฟอร์มเพียร์ พาวเวอร์จะคิดตามจำนวนวันที่มีการกู้ยืมจริง โดยค่าธรรมเนียมนักลงทุนคือ 1.25% ต่อปี ของยอดเงินต้นคงเหลือ


วิธีการคำนวณดอกเบี้ย:

ดอกเบี้ย = เงินต้นคงเหลือ x (ดอกเบี้ยต่อปี / 365) x จำนวนวันนับตั้งแต่กำหนดชำระครั้งล่าสุดถึงกำหนดชำระครั้งปัจจุบัน


กรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้มีการชำระเงินล่าช้า นักลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเพิ่มเติมตามจำนวนวันที่มีการชำระล่าช้า โดยคำนวณจากยอดชำระในงวดนั้น ๆ


วิธีการคำนวณดอกเบี้ยส่วนเพิ่มกรณีชำระล่าช้า:

ดอกเบี้ยเพิ่มเติม =  จำนวนเงินที่รับในงวดชำระนั้น ๆ x (ดอกเบี้ยต่อปี / 365) x จำนวนวันที่มีการชำระล่าช้า

            

ตัวอย่าง

- จำนวนเงินลงทุน (บาท): 100,000 บาท

- อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี): 10%

- ระยะเวลา: 120 วัน (จำนวนวันครบกำหนดชำระทุก ๆ 30 วัน)

- รูปแบบการชำระเงิน: ทยอยชำระคืนเงินต้น งวดละ 25,000 บาท


กรณีผู้ออกหุ้นกู้ขอเลื่อนวันชำระงวดที่ 1 จากวันครบกำหนดชำระ 30 มกราคม 2566 เป็น 4 กุมภาพันธ์ 2566

- ดอกเบี้ยปกติ งวดที่ 1 : 100,000 x (10% / 365) x 30 = 821.92 บาท 

- ดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากการชำระล่าช้า 5 วัน : 25,000 x (10% / 365) x 5 = 34.25 บาท
- ผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับ (ก่อนหักค่าธรรมเนียมนักลงทุน) คือ 856.17 บาท


วิธีการคำนวณดอกเบี้ยกรณีปรับโครงสร้างหนี้:
ดอกเบี้ย = เงินต้นคงเหลือ x (ดอกเบี้ยต่อปีบวกเพิ่ม 1.5% / 365) x จำนวนวันนับตั้งแต่กำหนดชำระครั้งล่าสุดถึงกำหนดชำระครั้งปัจจุบัน


ทั้งนี้การคำนวณจะเกิดขึ้นภายหลังได้รับอนุมัติปรับโครงสร้างหนี้


วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียมนักลงทุน:

ค่าธรรมเนียมนักลงทุน =  เงินต้นคงเหลือ x (ค่าธรรมเนียมนักลงทุน / 365) x จำนวนวันนับตั้งแต่กำหนดชำระครั้งล่าสุดถึงปัจจุบัน


ตัวอย่าง

- จำนวนเงินต้นคงเหลือ 150,000 บาท 

- ค่าธรรมเนียมต่อปี  1.25% 

- วันชำระเงินครั้งล่าสุด 13/01/2566 - วันครบกำหนดชำระ 13/02/2566: 31 วัน


ค่าธรรมเนียมนักลงุทน = 150,000 x 1.25% / 365 * 31= 159.34 บาท


หมายเหตุ: ระบบคำนวณโดยใช้ทศนิยม 2 ตำแแหน่ง (กรณีคำนวณโดยใช้ excel : round,2)




บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

เยี่ยมเลย!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

บอกให้เราทราบว่าเราจะปรับปรุงบทความนี้ได้อย่างไร!

เลือกเหตุผลอย่างน้อยหนึ่งข้อ
ต้องมีการตรวจสอบ CAPTCHA

ส่งข้อเสนอแนะแล้ว

เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว