หุ้นกู้ที่มีอายุหน่วย "วัน" จะมีวิธีการนับระยะเวลาที่แตกต่างกับ หุ้นกู้ที่มีอายุหน่วย "เดือน"
- หุ้นกู้อายุ 60 วัน - เริ่มนับจากวันที่หุ้นกู้ระดมทุนสำเร็จ ไปอีก 60 วัน (นับจำนวนวันตามที่ระบุ)
- หุ้นกู้อายุ 2 เดือน - ยึด วันที่ ที่หุ้นกู้ระดมทุนสำเร็จ และบวกถัดไปอีก 2 เดือน (นับวันตามปฏิทินจริง)
ตัวอย่าง: หุ้นกู้ A และ หุ้นกู้ B ระดมทุนสำเร็จวันที่ 25 มกราคม 2566
- หุ้นกู้ A อายุ 60 วัน - หุ้นกู้ A จะครบกำหนดในวันที่ 26 มีนาคม 2566 = จำนวนวันที่เกิดการกู้จริง 60 วัน
- หุ้นกู้ B อายุ 2 เดือน - หุ้นกู้ B จะครบกำหนดในวันที่ 25 มีนาคม 2566 = จำนวนวันที่เกิดการกู้จริง 59 วัน
เช่นเดียวกับการทยอยชำระคืนเงิน ตัวอย่างเช่น หุ้นกู้ ก ระดมทุนสำเร็จวันที่ 5 มกราคม
- หากหุ้นกู้ ก ทยอยชำระรายเดือน เท่ากับหุ้นกู้จะชำระ ทุก ๆ วันที่ 5 ของทุกเดือน
- หากหุ้นกู้ ก ทยอยชำระทุก 30 วัน เท่ากับหุ้นกู้จะนับทบ 30 วันจากวันที่ 5 มกราคมไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบงวดชำระ
หมายเหตุ: วันที่หุ้นกู้ระดมทุนสำเร็จ = วันที่ผู้ออกหุ้นกู้ได้รับเงินระดมทุน
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
เยี่ยมเลย!
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ
ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ
ส่งข้อเสนอแนะแล้ว
เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว